ทันตกรรมบูรณะ

ฟันผุสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศและวัยที่มีฟัน ไม่ว่าจะเป็นฟันแท้หรือฟันน้ำนม การอุดฟันจึงมีความจำเป็นในการแก้ปัญหานี้

การอุดฟัน คือ การบูรณะฟัน เพื่อให้ฟันอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ โดยมีรูปร่างลักษณะเหมือน หรือใกล้เคียงฟันเดิม บางครั้งอาจอุดฟันเพื่อแก้ไขฟันเดิมให้ดีขึ้น หรือสวยงามขึ้น ซึ่งหลังจากอุดไปแล้ว ต้องใช้บดเคี้ยวอาหารได้ด้วย

การอุดฟันโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามชนิดของวัสดุที่ใช้ดังนี้

การอุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัม (Traditional Amalgam Fillings)

การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน (Composite Resin Tooth-Colored Fillings)

ฟันที่จะต้องอุดไม่เฉพาะแต่ฟันที่มีรอยผุ หรือ เป็นรูเพียงอย่างเดียว ฟันที่แตก บิ่น ฟันที่มีรอยสึก ทั้งเนื่องจากการแปรงฟัน หรือจากอาหารที่รับประทาน ถ้ามีอาการเสียวฟันขณะทานอาหาร หรือของหวาน ดื่มน้ำเย็นหรือบ้วนน้ำก็อาจต้องอุด ก่อนอุดฟันทันตแพทย์จะต้องเตรียมฟัน หรือบริเวณที่จะอุดก่อน เพื่อให้เหมาะสมกับวัสดุที่ใช้อุด ถ้าเป็นฟันที่ผุต้องกรอรอยผุออกจนหมด เหลือแต่เนื้อฟันส่วนที่แข็งและดีไว้ ฟันที่แตก บิ่น หรือสึก ก็อาจต้องกรอแต่งฟันบ้าง เพื่อให้ได้ขนาดและรูปร่างเหมาะสม ที่วัสดุอุดจะยึดอยู่กับเนื้อฟัน และมีความแข็งแรงพอ ที่จะรับแรงบดเคี้ยวอาหารได้

การอุดฟันด้วยอมัลกัม ส่วนใหญ่ใช้อุดฟันกราม และฟันกรามน้อย เป็นวัสดุอุดที่แข็งแรงถ้าอุดบนด้านบดเคี้ยว จะสามารถรับแรงบดเคี้ยวได้ เกือบพอๆ กับฟันเดิม เพราะอมัลกัมที่ใช้วัสดุอุด เป็นโลหะผสมหลายชนิด ที่คำนวณมาแล้วว่าเมื่อแข็งตัวสมบูรณ์แล้ว จะแข็งพอที่จะรับน้ำหนัก ของการบดเคี้ยวได้

ปรอทที่ปนอยู่กับการอุดอมัลกัม มีอันตรายหรือไม่

ปรอทเมื่อทำปฏิกิริยากับโลหะผสมแล้ว จะกลายเป็นสารเฉื่อย ไม่มีอันตราย วัสดุที่ใช้อุดฟันก่อนที่จะผลิตออกมาจำหน่าย จะมีการทดสอบ จนแน่ใจว่า ไม่เป็นสารที่มีอันตรายต่อการใช้ในช่องปากฟันหน้า จะอุดฟันให้ดูเหมือนฟันธรรมดา ได้หรือไม่

ปัจจุบันคนนิยมอุดฟันให้เหมือนธรรมชาติ (Composite Filling) ในทางทันตกรรมได้ตอบสนองความนิยมนี้ด้วยการพัฒนาวัสดุอุดฟัน และเทคนิคต่าง ๆ ให้สามารถอุดฟันหน้าได้สวยงามเหมือนธรรมชาติมากที่สุด วัสดุอุดฟัน มีหลายแบบ และหลายสี โดยมีตั้งแต่ สีขาว สีเหลือง จนกระทั่งออกสีน้ำตาล หมอฟันสามารถเลือกสี ให้เหมือนกับสีของฟันแต่ละคนได้ ในต่างประเทศ จะนิยมเรียกว่า วัสดุอุดฟันมีสีธรรมชาติ มากกว่าจะเรียกว่า วัสดุอุดสีขาว